ระบบการศึกษาของประเทศฝรั่งเศส เป็นระบบที่แตกต่างจากระบบการศึกษาของไทย และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกับคนไทยมากกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญต่อคติประจำชาติที่ว่า “เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ” เป็นอย่างยิ่ง คติพจน์ดังกล่าวมีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก รวมถึงด้านการศึกษาซึ่งชาวฝรั่งเศสถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากความ เคารพในด้านเสรีภาพ และความเสมอภาค | ||||||||||||
การ ให้การศึกษาโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนเป็นการป้องกันและรักษาไว้ซึ่งสิทธิ และโอกาสของแต่ละบุคคลในเรื่องความเสมอภาคกันทางการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่สาธารณรัฐมอบให้แก่ทุกคนที่อยู่ในฝรั่งเศส ระบบการให้ทุนการศึกษาจะทำให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกันทางด้านโอกาสทางการ ศึกษา ขอแต่เพียงเขาเหล่านั้นมีสติปัญญาที่ดีเขาก็จะได้รับโอกาสในการศึกษาเท่า เทียมกับคน อื่น ๆ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ ผิวพรรณหรือฐานะทางสังคมแต่อย่างใด อีกประการหนึ่ง โดยที่เล็งเห็นว่าการศึกษาจะนำไปสู่การมีความคิดสร้างสรรค์ และการใช้ความคิดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเสรีภาพทางความคิด ดังนั้น ชาวฝรั่งเศสจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับโรงเรียนมาโดยตลอด และมอบหมายให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่จะสร้างและรักษาไว้ ซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้โอกาสกับ เด็กที่บิดามารดาเป็นชาวต่างชาติและ พักอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสได้รับการผสมผสาน ความเป็นฝรั่งเศสไว้ในตัว | ||||||||||||
หลักเกณฑ์ของระบบการศึกษาฝรั่งเศส | ||||||||||||
ประกอบด้วยหลัก 4 ประการ คือ | ||||||||||||
1. ความเท่าเทียมกันทางโอกาสในการเข้ารับการศึกษา | ||||||||||||
2. การไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ผิวพรรณ และฐานะทางสังคม | ||||||||||||
3. ความมีสถานะเป็นกลาง | ||||||||||||
4. ความไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด ๆ | ||||||||||||
นโยบายทางการศึกษา | ||||||||||||
นโยบายทางการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสระบุไว้ว่า “รัฐบาลสามารถกำหนดได้ เฉพาะหลักเกณฑ์ ทั่วไปของระบบการศึกษา” กล่าวคือ การบัญญัติ และการจัดตั้งระดับการศึกษา และปริญญาบัตร ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่เฉพาะของสาธารณรัฐ การสอบทั่วไปโดยข้อสอบของรัฐต้องเปิดโอกาสให้กับนักศึกษาทุกคน ในสถาบันระดับอุดมศึกษาต่าง ๆ ของรัฐ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนชั้นสูง เป็นต้น สถาบันเหล่านั้นต่างก็มีอิสระในการบริหาร และยังมีสถาบันเอกชนจำนวนมากเช่นกันที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล | ||||||||||||
ระบบการศึกษาของรัฐเป็นบริการฟรี เว้นแต่ค่าลงทะเบียนเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่มากนัก | ||||||||||||
การ ศึกษาภาคบังคับในฝรั่งเศสอยู่ระหว่างอายุ 6 - 16 ปี ระบบการศึกษาของรัฐรับเด็กเข้าศึกษา 80% ของจำนวนเด็กทั้งหมด โดยไม่มีสอนศาสนาแต่อย่างใด นอกจากนั้น ยังห้ามไม่ให้มีการแสดงออกที่ชัดเจนทางศาสนา | ||||||||||||
ข้อ บ่งชี้ถึงความมีเสรีภาพในการเรียนการสอนประการหนึ่ง คือการเปิดโรงเรียน หรือสถานศึกษาซึ่งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นเสรี ใครก็ตามสามารถเปิด หรือจัดการศึกษาได้ทั้งสิ้น และทุกระดับชั้นการศึกษาไม่ว่าจะเป็นระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หรือแม้แต่ระดับอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้จะต้องรักษาหลักเกณฑ์ 4 ประการ ดังกล่าวข้างต้น และรักษาเงื่อนไขทางด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย และการจัดระเบียบสาธารณะ | ||||||||||||
การศึกษาก่อนวัยเรียน 2 - 5 ขวบ | ||||||||||||
ไม่ เป็นการศึกษาภาคบังคับ แต่ถือเป็นประเพณีปฏิบัติอันยาวนานของฝรั่งเศส ซึ่งในปัจจุบันมีเด็กที่อายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป เข้าโรงเรียนถึง 99% ของจำนวนเด็กทั้งหมด โรงเรียนอนุบาลของรัฐเป็นบริการฟรี แต่ในโรงเรียนเอกชนผู้ปกครองต้องเสียค่าเล่าเรียนเอง โดยทั่วไปโรงเรียนอนุบาลแยกออกเป็น 3 ชั้นเรียน คือ ชั้นเล็ก (Petite Section) ชั้นกลาง (Moyenne Section) และชั้นสูง (Grande Section) | ||||||||||||
การศึกษาระดับประถมศึกษา 6 - 10 ขวบ (Primary School) | ||||||||||||
เป็น การบริการฟรีและเป็นการศึกษาภาคบังคับสำหรับเด็กฝรั่งเศสและเด็กต่างชาติใน ฝรั่งเศส โรงเรียนระดับประถม ประกอบด้วย 5 ชั้น คือ ชั้นเตรียมประถมศึกษา Classe Préparatoire (CP) ชั้นประถมศึกษาตอนต้นปีที่ 1 Cours Elémentaire 1 (CE1) ชั้นประถมศึกษาตอนต้นปีที่ 2 Cours Elémentaire 2 (CE2) ชั้นประถมศึกษาตอนปลายปีที่ 1 Cours Moyen 1 (CM1) และชั้นประถมศึกษาตอนปลายปีที่ 2 Cours Moyen 2 (CM2) | ||||||||||||
การศึกษาระดับมัธยมศึกษา 11 - 18 ปี (Secondary School) | ||||||||||||
ยังคงเป็นการบริการฟรีและส่วนหนึ่งยังคงเป็นการศึกษาภาคบังคับสำหรับเด็กฝรั่งเศสและเด็กต่างชาติในฝรั่งเศส แยกออกเป็น 2 ระดับ คือ | ||||||||||||
มัธยมต้น (11 - 14 ปี) เป็นการศึกษาระบบเดียวกันทั้งหมด สถานศึกษาเรียกว่า “Collège” รับเด็กทุกคนที่สำเร็จจากชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 ชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Sixième) จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (Troisième) เป็นการเรียนการสอนทั่วไปในวิชาการสายสามัญ โดยยังไม่แยกออกเป็นวิชาเฉพาะด้าน | ||||||||||||
มัธยมปลาย (15 - 17 ปี) สถานศึกษาเรียกว่า “Lycée” ภายหลังสำเร็จการศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตรตามสาขาวิชาที่เลือกศึกษา ซึ่งเริ่มแยกการศึกษาออกเป็น 2 ระบบ คือ | ||||||||||||
1. โรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญและทางเทคโนโลยี (Lycée d’enseignement général et technologique) ใช้ระยะเวลาศึกษา 3 ปี คือชั้นปีที่ 2 (Seconde) ชั้นปีที่ 1 (Première) และชั้นปลาย (Terminale) เพื่อเตรียมสอบรับประกาศนียบัตรสายสามัญ (Baccalauréat général) หรือประกาศนียบัตรสายเทคโนโลยี (Baccalauréat technologique) หรือประกาศนียบัตรสายช่างเทคนิค (Brevet de technicien) | ||||||||||||
2. โรงเรียนมัธยมศึกษาสายวิชาชีพ (Lycée Professionnel) เพื่อเตรียมสอบรับประกาศนียบัตรวิชาชีพ Certificat d’Aptitude Professionnelle (CAP) หรือประกาศนียบัตรอาชีวศึกษา Brevet d’Etudes Professionnelles (BEP) และประกาศนียบัตรมัธยมปลายสายอาชีพ (Baccalauréat professionnel) | ||||||||||||
ประกาศนียบัตร Baccalauréat เป็นกุญแจสำคัญสู่การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งประกาศนียบัตรดังกล่าวนี้จะต้องเป็นประกาศนียบัตร แห่งชาติที่ได้มาจากผลการสอบทั่วไป โดยข้อสอบกลางของรัฐ ไม่ใช่ ประกาศนียบัตรของสถานศึกษา ซึ่งเทียบเท่าวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในประเทศไทย นักเรียนที่จบ ม.6 และต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศฝรั่งเศส จำเป็นต้องสอบวัดระดับความรู้ภาษาฝรั่งเศสให้ได้เสียก่อน | ||||||||||||
การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education System) | ||||||||||||
สาธารณรัฐ ฝรั่งเศสมีประวัติทางการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ยาวนาน มหาวิทยาลัยแห่งแรกก่อตั้งขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 12 - 13 เช่น มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง “ลา ซอร์บอนน์ (La Sorbonne)” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1257 หรือ พ.ศ. 1800 | ||||||||||||
การ พัฒนาหลักสูตรในหลาย ๆ ศตวรรษต่อมา และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของสังคม ทำให้ระบบอุดมศึกษาของฝรั่งเศสเป็นระบบที่ค่อนข้างซับซ้อน | ||||||||||||
จาก ความมุ่งหมายเดิมของการศึกษาระดับอุดมศึกษาคือ การให้การศึกษาและการวิจัย มหาวิทยาลัยได้ปรับตนเองไปตามสภาพแวดล้อมและความต้องการของสังคม ตลอดจนระบบเศรษฐกิจ เช่น การเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนของภาคธุรกิจเอกชน โดยการก่อตั้ง Instituts Universitaires de Technologies (IUT) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นสถาบันที่สอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ นักศึกษาจะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมแบบธุรกิจจริง ๆ เมื่อจบการศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตร DESS ซึ่งเป็นสิ่งประกันความสามารถทางวิชาชีพของนักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมใน ระดับสูง และยังให้นักศึกษาได้รับการ ฝึกความชำนาญเฉพาะด้านในระดับผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ชำนาญเฉพาะอีกด้วย | ||||||||||||
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของฝรั่งเศสส่วนมากเป็นของรัฐ มีมหา วิทยาลัยของรัฐ 90 แห่ง มหาวิทยาลัยคาทอลิก 5 แห่ง สถาบันโปรเตสแตนต์ 3 แห่ง และอื่น ๆ อีก 4 แห่ง | ||||||||||||
จุด มุ่งหมายอย่างเป็นทางการของระบบอุดมศึกษาตามกฎหมายลงวันที่ 26 มกราคม 1984 ได้ให้ความหมายของการให้บริการของรัฐด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไว้ว่า หน้าที่ของระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา คือ | ||||||||||||
การ ฝึกอบรมเบื้องต้นให้กับนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และให้การศึกษาต่อเนื่องตลอดช่วงการดำเนินชีวิต และเปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาทุกระดับ ซึ่งหมายความว่าผู้ใดก็สามารถเข้าไปเรียนในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยได้ทุกเพศทุกวัยและทุกระดับพื้นความรู้ | ||||||||||||
การดำเนินการและการเผยแพร่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย | ||||||||||||
การเผยแพร่วัฒนธรรมและข้อมูลข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | ||||||||||||
ความร่วมมือระหว่างประเทศ | ||||||||||||
ประเภท ของสถาบันการศึกษา สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษามีหลายประเภท การจัดองค์กร และเงื่อนไขการเข้ารับการศึกษาจะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของสถาบัน และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร สถาบันการศึกษาแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทดังนี้ | ||||||||||||
1. มหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งเปิดรับผู้ได้รับประกาศนียบัตร Baccalauréat (หรือเทียบเท่า) ทุกคน โดยไม่มีการสอบคัดเลือก เว้นแต่ในด้านการศึกษาสายแพทย์และเภสัชกร และสถานบัน IUT หรือ IUP มหาวิทยาลัย ของรัฐ เหล่านี้ให้การศึกษาอย่างกว้างขวางหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งแบ่งออกเป็นการให้ความรู้ทั้งด้านที่เป็นหลักทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติ | ||||||||||||
2. สถาบันที่เรียกว่า โรงเรียน (Ecole) ซึ่งมีทั้งที่เป็นของรัฐและของเอกชน ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ให้การศึกษาเพื่อความมุ่งหมายด้านวิชาชีพ | ||||||||||||
ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน | ||||||||||||
โดย ทั่วไปใช้ภาษาฝรั่งเศสในการเรียนการสอน แต่จากการเปิดกว้างทางการศึกษาระหว่างประเทศและการพัฒนาโครงการแลกเปลี่ยน ระหว่างมหาวิทยาลัย ทำให้สถานศึกษาบางแห่งเลือกเปิดหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของหลักสูตรต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องเสียค่าเรียนเพิ่มขึ้นเพราะสถานศึกษาต้องจ้างครู อาจารย์ที่ใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนสอนธุรกิจการจัดการ | ||||||||||||
นักศึกษาต่างชาติ | ||||||||||||
นัก ศึกษาต่างชาติมีจำนวนประมาณ 10% ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดในฝรั่งเศสและจะอยู่ในปารีสมากที่สุด ตามหลักเกณฑ์การไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ผิวพรรณ ทำให้นักศึกษาต่างชาติได้รับเงื่อนไขเดียวกันกับนักศึกษาฝรั่งเศสและเสียค่า ธรรมเนียมเท่ากัน และหากประเทศใดมีการตกลงแบบทวิภาคีระหว่างรัฐบาลกับฝรั่งเศส จะทำให้นักศึกษาต่างชาติของประเทศนั้น ได้รับสวัสดิการสังคมและโอกาสที่จะได้ที่พักในมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกันกับ ชาวฝรั่งเศส (แต่ประเทศไทยมิได้มีข้อตกลงดังกล่าวร่วมกับรัฐบาลฝรั่งเศส) | ||||||||||||
ความ หลากหลายของวิถีทางการศึกษาและปริญญาบัตรต่าง ๆ จำนวนมากที่มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ประสิทธิประสาทให้ ทำให้ระบบอุดมศึกษาของฝรั่งเศสเป็นปัญหากับผู้ที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้น ในคู่มือฉบับนี้ จะอธิบายอย่างย่อ ๆ ถึงระบบอุดมศึกษาของฝรั่งเศส โดยจะเน้นถึงวิธีการศึกษาที่เหมาะกับนักศึกษาไทย การศึกษาระดับอุดมศึกษาของฝรั่งเศสเป็นการศึกษาต่อจาก Baccalauréat (เทียบเท่าประกาศนียบัตร ม.6 ของไทย) นักศึกษามีทางเลือก 3 ทาง คือ | ||||||||||||
1. หลักสูตรระยะสั้น (Short Curriculum) | ||||||||||||
2. หลักสูตรโรงเรียนชั้นสูง (“Grandes Ecoles” Curriculum) | ||||||||||||
3. หลักสูตรมหาวิทยาลัย (University Curriculum) | ||||||||||||
หลักสูตรระยะสั้น 2 - 3 ปี (Short Curriculum) | ||||||||||||
เป็น การศึกษาทางด้านวิชาชีพหรือความชำนาญทางด้านเทคนิคสาขาใดสาขาหนึ่ง ภายในเวลา 2 - 3 ปี สถานศึกษา คือ STS (Section de Technicien Supérieur) หรือ IUT (Instituts Universitaires de Technologies) ปริญญาบัตรที่ได้คือ BTS (Brevet de Technicien Supérieur) หรือ DUT (Diplôme Universitaire de Technologie) | ||||||||||||
BTS มีปริญญาบัตรสาขาวิชาต่าง ๆ มากมายตั้งแต่ระดับเลขานุการ จนถึงการโรงแรมหรือภัตตาคาร พาณิชยการ การท่องเที่ยว และการใช้คอมพิวเตอร์ทางการบริหาร | ||||||||||||
DUT มีปริญญาบัตรสาขาวิชาการก่อสร้างและโยธาธิการ การบำรุงรักษาสำหรับอุตสาหกรรม อาชีพทางสารสนเทศ และการบริหาร | ||||||||||||
นัก ศึกษาที่สำเร็จ BTS หรือ DUT และมีผลการเรียนดี สามารถเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนวิศวกร ตามที่สถานศึกษาจะพิจารณาคัดเลือก โดยจะพิจารณาจากผลการเรียนที่ผ่านมา หรือการสอบคัดเลือก | ||||||||||||
นัก ศึกษาต่างชาติได้รับโอกาสให้เข้าศึกษาทางด้านนี้ โดยไม่ต้องสอบความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาขณะเมื่อลงทะเบียนเข้าเป็นนักศึกษา แต่การที่ ไม่มีการทดสอบพื้นความรู้ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้หมายความว่าพื้นฐานด้านภาษาไม่ มีความจำเป็น | ||||||||||||
หลักสูตรโรงเรียนชั้นสูง (“Grandes Ecoles” Curriculum) | ||||||||||||
โรงเรียนชั้นสูง Grandes Ecoles เป็นระบบการศึกษาเฉพาะของฝรั่งเศส ซึ่งประเทศอื่น ๆ ไม่มีระบบการศึกษานี้ | ||||||||||||
Grandes Ecoles มีหลักสูตรที่เปิดทำการสอน 3 ด้าน คือ | ||||||||||||
1. Business and Management | ||||||||||||
2. Engineering | ||||||||||||
3. Political Sciences | ||||||||||||
เงื่อนไขการเข้าเรียนสำหรับนักศึกษาต่างชาต | ||||||||||||
มี เงื่อนไขเดียวกันกับชาวฝรั่งเศสคือ การสอบแข่งขัน (Concours) สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ จึงเป็นการยากมากที่จะผ่านการสอบแข่งขัน แม้ว่าโรงเรียนบางแห่งจะได้จัดหลักสูตรเตรียมการสำหรับนักศึกษาต่างชาติให้ เป็นพิเศษแล้วก็ตาม ด้วยเหตุที่ว่านอกจากจะต้องมี ความรู้พื้นฐานในสาขาวิชาอย่างดีเลิศแล้ว ยังจะต้องมีความสามารถทางภาษาอีกด้วย สถาบันศึกษาเอกชนมีวิธีการคัดเลือกนักศึกษาแตกต่างกันออกไป | ||||||||||||
โรงเรียน ชั้นสูง Grandes Ecoles มีประมาณ 300 แห่ง ซึ่งมีระบบการสอบคัดเลือกที่เข้มงวดมาก การเตรียมตัวสอบคัดเลือก (Concours d’entrée) ใช้เวลาศึกษา 2 ปีในโรงเรียนเตรียมการ (Ecoles Préparatoires) ส่วนโรงเรียนชั้นสูงในด้านธุรกิจ เริ่มนิยมเปิดหลักสูตร BBA และ MBA ภาษาอังกฤษหรือสองภาษา (อังกฤษ-ฝรั่งเศส) ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักศึกษาไทยที่มีพื้นความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี แล้วที่จะไปเรียนต่อด้านการบริหารธุรกิจ โดยมีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสและยุโรปไปพร้อมกันด้วย | ||||||||||||
หลักสูตรมหาวิทยาลัย (University Curriculum) | ||||||||||||
มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาที่รับนักศึกษาจำนวนมากที่สุด มหาวิทยาลัยฝรั่งเศสเป็นสถานศึกษาของรัฐเกือบทั้งหมด ในส่วนของ มหาวิทยาลัยเอกชน โดยทั่วไปเป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่นกลุ่มมหาวิทยาลัยคาทอลิก หรือกลุ่มสถาบันโปรเตสแตนต์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ดำเนินงานโดยมีอิสระทั้งในด้านการบริหาร การเงิน วิธีการสอน และ หลักสูตร | ||||||||||||
การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแยกออกเป็น 3 ระดับ (3ème cycles d’études) ที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งแต่ละระดับจะมีปริญญาบัตรแห่งชาติ | ||||||||||||
1. ระดับที่หนึ่ง (1er cycle) ซึ่งเป็นระดับการศึกษาทั่วไป ใช้เวลา 2 ปี และได้รับอนุปริญญา DEUG (Diplôme d’études Universitaires Générales) อนุปริญญานี้มีคุณค่าน้อยมากในตลาดแรงงาน แต่ถือว่าเป็นการเตรียมนักศึกษาสู่การศึกษาในระดับต่อไปมากกว่า | ||||||||||||
2. ระดับที่สอง (2ème cycle) เป็นระดับการศึกษาที่เจาะลึกลงไปในสาขาวิชา เป็นการฝึกอบรมชั้นสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการฝึก อบรมทั่วไป ใช้เวลาศึกษา 1 ปี เมื่อสำเร็จจะได้รับปริญญาบัตร Licence (เทียบเท่า Bachelor Degree) หมายถึง DEUG +1 ปี และหากศึกษาต่อไปอีก 1 ปี จะได้รับปริญญาบัตร Maîtrise (เทียบเท่า Master Degree) หมายถึง DEUG +2 ปี (ทั้งสองปีนี้ถือเป็นการศึกษาหน่วยเดียวกัน และมีบางสาขาที่บังคับให้ศึกษาต่อในสาขาวิชาเดียวกันในระดับ Licence และ Maîtrise) | ||||||||||||
3. ระดับที่สาม (3ème cycle) ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Post Graduate ซึ่งเป็นระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะและการฝึกอบรมวิจัย นักศึกษาต้องได้รับปริญญาบัตร Maîtrise หรือเทียบเท่า เช่น ปริญญาบัตรของโรงเรียนชั้นสูง เกณฑ์การคัดเลือกใช้วิธีการพิจารณาผลการเรียนที่ผ่านมาและการสัมภาษณ์ การศึกษาระดับนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกหลักสูตรปริญญาบัตร 2 ประเภท คือ | ||||||||||||
ปริญญาบัตร DESS (Diplôme d’études Supérieures Spécialisées) เป็นการศึกษาด้านวิชาชีพ 1 ปี และมีการฝึกงานในบริษัท | ||||||||||||
ปริญญา DEA (Diplôme d’études Approfondies) เป็นการฝึกการวิจัย ใช้เวลา 1 ปี และสามารถทำปริญญาเอก (Doctorat) ภายหลังจบงานวิจัยได้ โดยใช้เวลาอีก 3-5 ปี ซึ่งต้องเขียนวิทยานิพนธ์ ต่อคณะกรรม การศึกษาหรือผลงานวิจัย 1 ชุด | ||||||||||||
นัก ศึกษาต่างชาติที่ต้องการจะลงทะเบียนเรียนต่อในมหาวิทยาลัยฝรั่งเศส หลังจากที่ได้รับปริญญาตรีแล้ว การพิจารณามีหลายกรณี ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เลือกและผลการเรียน แม้ว่าปริญญาตรีเทียบเท่ากับ Maîtrise (Bac + 4 ปี) ก็จริง แต่ทั้งนี้ ยังต้องขึ้นอยู่กับการยอมรับของ มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากผล การเรียนที่ผ่านมา | ||||||||||||
กรณีที่ 1 นักศึกษามีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนสาขาวิชา นักศึกษาจะต้องเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ปีหนึ่งแต่สามารถที่จะเทียบโอนหน่วยกิต บางหน่วยไดโดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบด้านการเทียบโอนหน่วยกิตเป็นผู้พิจารณา | ||||||||||||
กรณีที่ 2 นักศึกษาที่ศึกษาต่อในสาขาวิชาเดิม แต่มีผลการเรียนที่ผ่านมาอยู่ในระดับปานกลาง (GPA<3.00) นักศึกษาต้องลงทะเบียนเข้าศึกษาในระดับ Licence (Bac + 3 ปี) | ||||||||||||
กรณีที่ 3 นักศึกษาที่ศึกษาต่อในสาขาวิชาเดิม และมีผลการเรียนที่ผ่านมาอยู่ในระดับดี (GPA>3.00) การพิจารณารับเข้าศึกษาต่อขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย และสาขาวิชาที่เลือก แต่มีโอกาสได้เข้าศึกษาในระดับ Maîtrise หรือ DEA ก็อาจเป็นได้ (สำหรับสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคมีโอกาสสูงกว่า) บางครั้งนักศึกษาอาจจะต้องลงทะเบียนศึกษาในระดับ Licence เพราะถือว่า Maîtrise เป็นการเรียนเฉพาะด้านที่ต่อเนื่องจาก Licence ซึ่งไม่ควรแยกออกจากกัน (โดยเฉพาะในกรณีของสาขาวิชาชีพ) | ||||||||||||
การเปรียบเทียบปริญญาบัตรฝรั่งเศสตามมาตรฐานสหภาพยุโรป | ||||||||||||
|
||||||||||||
วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556
Système d'éducation en France (ระบบการศึกษาของประเทศฝรั่งเศส)
ระบบการศึกษาของประเทศฝรั่งเศส
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น