วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

colmar สถานที่ที่ถูกจัดว่าโรแมนติกที่สุดในโลก

 colmar เป็นเมืองหลวงของไวน์และศิลปะใน Haut-ไรน์ซึ่งเป็นส่วนที่ภาคใต้ของภูมิภาคของฝรั่งเศสฝรั่งเศสและมีถิ่นที่ อยู่ใน 86,000 เกี่ยวกับ งดงามครึ่งไม้บ้านสไตล์และอาคารและคลองหลายแห่งจะทำให้เมืองจริงๆแปลกตา และสวยงามและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยวในเมืองเก่าแก่ที่ เก็บรักษาไว้อย่างดี  

colmar ก่อตั้งขึ้นใน 800 และถูกยึดครองโดยกองทัพสวีเดนเป็นเวลาสองปีใน 1632 ต่อไปนี้เมืองเป็นเยอรมนี แต่กลายเป็นเมืองของฝรั่งเศสใน 1697อิทธิพลของเยอรมันแน่นอนสามารถเห็นในสถาปัตยกรรมของเมืองเก่าในวันนี้

 

 สถานที่แห่งนี้ถูกจัดว่า มีความโรแมนติกมากที่สุดในโลก ซึ่งน่าจะหาโอกาสพาคนรักไปเยี่ยมชม สักครั้งหนึ่งในชีวิต


การ ได้ใช้เวลาไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันหลังแต่งงานในสถานที่สวยๆ เพื่อเพิ่มความโรแมนติก และเป็นการกระชับสัมพันธ์ให้มากยิ่งขึ้นนับ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่คู่รัก จะต้องแสดงออกถึงความรักระหว่างกันและกัน การแสดงออกในเรื่องความรัก หมายถึง การทำให้ฝ่าตรงข้ามรู้สึกประทับใจ รู้สึกดี รู้สึกผูกพัน รู้สึกว่าได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเกิดประโยชน์มากขึ้น ที่เป็นที่นิยมอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การได้ใช้เวลาไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันในสถานที่สวยๆ เพื่อเพิ่มความโรแมนติก และกระชับสายสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากขึ้นไปอีกเที่ยว มือ งcolmar หรือ กาล์มาร์ ท่องเที่ยวต่างแดน ท่องเที่ยว ต่างประเทศ ประเทศฝรั่งเศส ดินแดนแห่งความงาม ที่มี ตึกราบ้านช่องสวยงามมีจุดเด่นอยู่ที่ความงามของ ดอกไม้ ที่มีอยู่ทั่วเมืองและColmar ประเทศฝรั่งเศส เมือง Colmar ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีความโรแมนติก เมืองหนึ่ง ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นสถานที่ที่คู่รัก มักจะให้คำสัญญาในความรักระหว่างกันและกัน สิ่งที่น่าประทับใจในเมือง Colmar ก็คือ ไร่องุ่นจำนวนมาก เคียงคู่ไปกับอุตสาหกรรมการผลิตไวน์ชั้นเยี่ยม และบรรยากาศ ที่สวยงาม สถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ ช่วยทำให้เมือง Colmar เป็นอีกหนึ่งในสถานที่โรแมนติกในฝัน

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Vallée de la Loire (ลุ่มแม่น้ำลัวร์)

 Vallée de la Loire (แม่น้ำลัวร์)



ลุ่มแม่น้ำลัวร์ (Loire Valley)
          ลุ่มแม่น้ำลัวร์ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นดินแดนที่ทรงอิทธิพลของประเทศ  เป็นเสมือนดินแดนในฝันของเจ้าชายเจ้าหญิง   มีปราสาทราชวังใหญ่โตโอฬารที่มีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง  เรียกในภาษาฝรั่งเศสว่า ชาโตว์  ปราสาทเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการแสดงออกทางฐานะ และหน้าตาทางสังคม  แสดงถึงความฟุ้งเฟ้อตามสไตล์ฝรั่งเศส ปราสาทเหล่านี้มีทั้งหมด 300 กว่าหลัง สร้างโดยกษัตริย์ และขุนนางในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10-20 และในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2000 องค์การยูเนสโก้ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ให้เป็นมรดกโลกทาง ด้านวัฒนธรรม







     ลุ่มแม่น้ำลัวร์ (อังกฤษ: Loire Valley หรือ Garden of France, ฝรั่งเศส: Vallée de la Loire) เป็นบริเวณทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักกันดีจากคุณค่าของสถาปัตยกรรมและเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติ ศาสตร์ที่รวมทั้งเมืองอองบัวส์, อองแชร์, บลัวส์, ชินง, นานต์ส์, ออร์เลอองส์, โซมัวร์ และ ตูร์ แต่ที่สำคัญคือพระราชวัง, วัง, ปราสาท และึคฤหาสน์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกที่รวมทั้งพระราชวังชองบอร์ด หรือ วังเชอนงโซซื่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคเรืองปัญญาที่มีต่อการออกแบบและการสร้างสถาปัตยกรรม
ในปี ค.ศ. 2000 องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนบริเวณตอนกลางของลุ่มแม่น้ำลัวร์ระหว่างแมน (Maine River) และ ซุลลีย์-เซอร์-ลัวร์ให้เป็นมรดกโลกในการเลือกภูมิภาคลุ่มแม่น้ำลัวร์ที่ครอบคลุมจังหวัดลัวเรต์, ลัว-เรต์-แชร์, แองดร์-เอต์-ลัวร์, and แมน-เนต์-ลัวร์างคณะกรรมการกล่าวถึงภูมิภาคลุ่มแม่น้ำลัวร์ว่าเป็นบริเวณที่ “มีความงามของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมอันเด่น, และมีความสวยงามอันเลอเลิศที่ประกอบด้วยเมืองและหมู่บ้านสำคัญในประวัติ ศาสตร์, อนุสรณ์ทางสถาปัตยกรรมอันสำคัญ - ชาโต - และแผ่นดินที่ได้รับการพัฒนาทางการเกษตรกรรมและเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยเฉพาะตัวแม่น้ำลัวร์เอง”






วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Pont des Arts (สะพานกุญแจแห่งรัก)

Pont des Arts : สะพานกุญแจแห่งรัก

        Pont des Arts เป็นสะพานที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำเซน ปารีส ช่วง Musée du Louvre และ Institut de France  สะพาน Pont des Arts เป็นสะพานแห่งแรกในกรุงปารีสที่มีโครงสร้างทำด้วยเหล็ก สร้างในสมัยจักรพรรดิ์นโปเลียน ในปี ค.ศ.1802 ได้นำแบบอย่างมาจากประเทศอังกฤษ

 

     มุม มองด้านพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) ถึงแม้โครงสร้างของสะพานจะเป็นเหล็ก แต่ออกแบบได้สวยงามไม่เทอะทะ มีความโปร่ง เส้นโค้งของโครงสร้างมีจังหวะจะโคนสวยงามและอีกฝั่งหนึ่งด้าน Institut de France สะพาน แห่งนี้เคยชำรุดเนื่องจากกาลเวลาและถูกระเบิดเสียหายในสมัยสงครามโลกทั้งสอง จึงได้ปรับปรุงใหม่เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1981 ดังที่เห็นในปัจจุบัน พื้นของสะพานเป็นไม้

แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้สะพานแห่งนี้มีชื่อ เสียงโด่งดัง เป็นจุดหมายของคู่รักและนักท่องเที่่ยวจากทั่วโลก ก็คือกุญแจที่คล้องเต็มราวสะพานทั้งสองข้างนี่เอง กุญแจส่วนใหญ่จะมีชื่อคู่รักเขียนหรือสลักติดไว้นอกจากชื่อแล้วก็ยังมีข้อความหรือสัญลักษณ์ต่างๆ และที่น่าสนใจก็คือรูปแบบที่หลากหลายของของกุญแจ มีทั้งใหม่เอี่ยมและเก่าจนสนิมเขรอะ มีความเชื่อกันว่าเมื่อคู่รักคู่ใดได้ มาอฐิษฐานความรัก พร้อมกับคล้องกุญแจไว้ที่สะพานแห่งความรักนี้แล้ว ความรักของทั้งสองจะอยู่ยั้งยืนยงชนิดที่ว่าไม่มีอะไรที่จะพรากได้ เพราะลูกกุญแจได้โยนทิ่งน้ำไปหลังจากล้อคเรียบร้อยแล้ว

 


 


 

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Je ne sais pas musique.


Bonjour สวัสดีค่ะ วันนี้มีเพลงฝรั่งเศสมาฝากค่ะ เป็นดนตรีเพราะๆฟังสบายๆ น่ารัก  นักร้องก็น่ารักไม่เบาเลยยยย >< ลองไปฟังกันดูนะค่ะ


                           
Joyce Jonathan - Je ne sais pas

Il y a des mots qui me gène des centaines de mots des milliers de rengaines qui ne sont jamais les mêmes

Comment te dire je veux pas te mentir tu m'attires et c'est la que ce trouve le vrai fond du problème

Ton orgueil tes caprices tes baisers des délices tes désirs des supplices je vois vraiment pas où ça nous mènes

Alors, on se raisonne c'est pas la fin de notre monde
Et à tord on se questionne encore une dernière fois

Je ne sais pas comment te dire j'aurais peur de tout foutre en l'air de tout détruire
Un tas d'idées à mettre au clair depuis longtemps
Mais j'ai toujours laissé derrière mes sentiments

Parfois je me dis que j'ai tors de rester si passive mais toi tu me regarde moi je te dévore
Et c'est parfois trop dur de discerner l'amour
Mon ami mon amant mon amour et bien plus encore

Alors, on se raisonne c'est pas la fin de notre monde
Et à tord on se questionne encore une dernière fois

Je ne sais pas comment te dire j'aurais peur de tout foutre en l'air de tout détruire
Un tas d'idées à mettre au clair depuis longtemps
Mais j'ai toujours laissé derrière mes sentiments
(x 2)

je te veux toi avec défaut et tes problèmes de fabrications
je te veux toi j'veux pas un faux pas de contrefaçons
j'veux pas te rendre pour prendre un autre
j' veux pas te vendre pour une ou deux fautes
je veux tes mots je veux ta peau c'est jamais trop
je te veux plus changer ta vie qui veut un autre un peu plus joli
je ne veux pas je ne veux plus jamais voulu
et puis t'es qui j'te connais pas t'as du rêver ce n'était pas moi
mes confusions tu les connais laissons tomber

comment te dire j'aurais peur de tout foutre en l'air de tout détruire
Un tas d'idées à mettre au clair depuis longtemps
Mais j'ai toujours laissé derrière mes sentiments

Je ne sais pas comment te dire j'aurais peur de tout foutre en l'air de tout détruire
Un tas d'idées à mettre au clair depuis longtemps
Mais j'ai toujours laissé derrière mes sentiments
(x 2)

น้องหมาร้องเพลงน้องหมาร้องเพลงน้องหมาร้องเพลงน้องหมาร้องเพลงน้องหมาร้องเพลงน้องหมาร้องเพลงน้องหมาร้องเพลงน้องหมาร้องเพลง

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Système d'éducation en France (ระบบการศึกษาของประเทศฝรั่งเศส)

        ระบบการศึกษาของประเทศฝรั่งเศส

 


ระบบการศึกษาของประเทศฝรั่งเศส เป็นระบบที่แตกต่างจากระบบการศึกษาของไทย และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกับคนไทยมากกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญต่อคติประจำชาติที่ว่า “เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ” เป็นอย่างยิ่ง คติพจน์ดังกล่าวมีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก รวมถึงด้านการศึกษาซึ่งชาวฝรั่งเศสถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากความ เคารพในด้านเสรีภาพ และความเสมอภาค
การ ให้การศึกษาโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนเป็นการป้องกันและรักษาไว้ซึ่งสิทธิ และโอกาสของแต่ละบุคคลในเรื่องความเสมอภาคกันทางการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่สาธารณรัฐมอบให้แก่ทุกคนที่อยู่ในฝรั่งเศส ระบบการให้ทุนการศึกษาจะทำให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกันทางด้านโอกาสทางการ ศึกษา ขอแต่เพียงเขาเหล่านั้นมีสติปัญญาที่ดีเขาก็จะได้รับโอกาสในการศึกษาเท่า เทียมกับคน อื่น ๆ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ ผิวพรรณหรือฐานะทางสังคมแต่อย่างใด อีกประการหนึ่ง โดยที่เล็งเห็นว่าการศึกษาจะนำไปสู่การมีความคิดสร้างสรรค์ และการใช้ความคิดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเสรีภาพทางความคิด ดังนั้น ชาวฝรั่งเศสจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับโรงเรียนมาโดยตลอด และมอบหมายให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่จะสร้างและรักษาไว้ ซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้โอกาสกับ เด็กที่บิดามารดาเป็นชาวต่างชาติและ พักอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสได้รับการผสมผสาน ความเป็นฝรั่งเศสไว้ในตัว
หลักเกณฑ์ของระบบการศึกษาฝรั่งเศส
ประกอบด้วยหลัก 4 ประการ คือ
1. ความเท่าเทียมกันทางโอกาสในการเข้ารับการศึกษา
2. การไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ผิวพรรณ และฐานะทางสังคม
3. ความมีสถานะเป็นกลาง
4. ความไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด ๆ
นโยบายทางการศึกษา
นโยบายทางการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสระบุไว้ว่า “รัฐบาลสามารถกำหนดได้ เฉพาะหลักเกณฑ์ ทั่วไปของระบบการศึกษา” กล่าวคือ การบัญญัติ และการจัดตั้งระดับการศึกษา และปริญญาบัตร ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่เฉพาะของสาธารณรัฐ การสอบทั่วไปโดยข้อสอบของรัฐต้องเปิดโอกาสให้กับนักศึกษาทุกคน ในสถาบันระดับอุดมศึกษาต่าง ๆ ของรัฐ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนชั้นสูง เป็นต้น สถาบันเหล่านั้นต่างก็มีอิสระในการบริหาร และยังมีสถาบันเอกชนจำนวนมากเช่นกันที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล
ระบบการศึกษาของรัฐเป็นบริการฟรี เว้นแต่ค่าลงทะเบียนเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่มากนัก
การ ศึกษาภาคบังคับในฝรั่งเศสอยู่ระหว่างอายุ 6 - 16 ปี ระบบการศึกษาของรัฐรับเด็กเข้าศึกษา 80% ของจำนวนเด็กทั้งหมด โดยไม่มีสอนศาสนาแต่อย่างใด นอกจากนั้น ยังห้ามไม่ให้มีการแสดงออกที่ชัดเจนทางศาสนา
ข้อ บ่งชี้ถึงความมีเสรีภาพในการเรียนการสอนประการหนึ่ง คือการเปิดโรงเรียน หรือสถานศึกษาซึ่งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นเสรี ใครก็ตามสามารถเปิด หรือจัดการศึกษาได้ทั้งสิ้น และทุกระดับชั้นการศึกษาไม่ว่าจะเป็นระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หรือแม้แต่ระดับอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้จะต้องรักษาหลักเกณฑ์ 4 ประการ ดังกล่าวข้างต้น และรักษาเงื่อนไขทางด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย และการจัดระเบียบสาธารณะ
การศึกษาก่อนวัยเรียน 2 - 5 ขวบ
ไม่ เป็นการศึกษาภาคบังคับ แต่ถือเป็นประเพณีปฏิบัติอันยาวนานของฝรั่งเศส ซึ่งในปัจจุบันมีเด็กที่อายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป เข้าโรงเรียนถึง 99% ของจำนวนเด็กทั้งหมด โรงเรียนอนุบาลของรัฐเป็นบริการฟรี แต่ในโรงเรียนเอกชนผู้ปกครองต้องเสียค่าเล่าเรียนเอง โดยทั่วไปโรงเรียนอนุบาลแยกออกเป็น 3 ชั้นเรียน คือ ชั้นเล็ก (Petite Section) ชั้นกลาง (Moyenne Section) และชั้นสูง (Grande Section)
การศึกษาระดับประถมศึกษา 6 - 10 ขวบ (Primary School)
เป็น การบริการฟรีและเป็นการศึกษาภาคบังคับสำหรับเด็กฝรั่งเศสและเด็กต่างชาติใน ฝรั่งเศส โรงเรียนระดับประถม ประกอบด้วย 5 ชั้น คือ ชั้นเตรียมประถมศึกษา Classe Préparatoire (CP) ชั้นประถมศึกษาตอนต้นปีที่ 1 Cours Elémentaire 1 (CE1) ชั้นประถมศึกษาตอนต้นปีที่ 2 Cours Elémentaire 2 (CE2) ชั้นประถมศึกษาตอนปลายปีที่ 1 Cours Moyen 1 (CM1) และชั้นประถมศึกษาตอนปลายปีที่ 2 Cours Moyen 2 (CM2)
การศึกษาระดับมัธยมศึกษา 11 - 18 ปี (Secondary School)
ยังคงเป็นการบริการฟรีและส่วนหนึ่งยังคงเป็นการศึกษาภาคบังคับสำหรับเด็กฝรั่งเศสและเด็กต่างชาติในฝรั่งเศส แยกออกเป็น 2 ระดับ คือ
มัธยมต้น (11 - 14 ปี) เป็นการศึกษาระบบเดียวกันทั้งหมด สถานศึกษาเรียกว่า “Collège” รับเด็กทุกคนที่สำเร็จจากชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 ชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Sixième) จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (Troisième) เป็นการเรียนการสอนทั่วไปในวิชาการสายสามัญ โดยยังไม่แยกออกเป็นวิชาเฉพาะด้าน
มัธยมปลาย (15 - 17 ปี) สถานศึกษาเรียกว่า “Lycée” ภายหลังสำเร็จการศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตรตามสาขาวิชาที่เลือกศึกษา ซึ่งเริ่มแยกการศึกษาออกเป็น 2 ระบบ คือ
1. โรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญและทางเทคโนโลยี (Lycée d’enseignement général et technologique) ใช้ระยะเวลาศึกษา 3 ปี คือชั้นปีที่ 2 (Seconde) ชั้นปีที่ 1 (Première) และชั้นปลาย (Terminale) เพื่อเตรียมสอบรับประกาศนียบัตรสายสามัญ (Baccalauréat général) หรือประกาศนียบัตรสายเทคโนโลยี (Baccalauréat technologique) หรือประกาศนียบัตรสายช่างเทคนิค (Brevet de technicien)
2. โรงเรียนมัธยมศึกษาสายวิชาชีพ (Lycée Professionnel) เพื่อเตรียมสอบรับประกาศนียบัตรวิชาชีพ Certificat d’Aptitude Professionnelle (CAP) หรือประกาศนียบัตรอาชีวศึกษา Brevet d’Etudes Professionnelles (BEP) และประกาศนียบัตรมัธยมปลายสายอาชีพ (Baccalauréat professionnel)
ประกาศนียบัตร Baccalauréat เป็นกุญแจสำคัญสู่การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งประกาศนียบัตรดังกล่าวนี้จะต้องเป็นประกาศนียบัตร แห่งชาติที่ได้มาจากผลการสอบทั่วไป โดยข้อสอบกลางของรัฐ ไม่ใช่ ประกาศนียบัตรของสถานศึกษา ซึ่งเทียบเท่าวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในประเทศไทย นักเรียนที่จบ ม.6 และต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศฝรั่งเศส จำเป็นต้องสอบวัดระดับความรู้ภาษาฝรั่งเศสให้ได้เสียก่อน
การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education System)
สาธารณรัฐ ฝรั่งเศสมีประวัติทางการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ยาวนาน มหาวิทยาลัยแห่งแรกก่อตั้งขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 12 - 13 เช่น มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง “ลา ซอร์บอนน์ (La Sorbonne)” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1257 หรือ พ.ศ. 1800
การ พัฒนาหลักสูตรในหลาย ๆ ศตวรรษต่อมา และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของสังคม ทำให้ระบบอุดมศึกษาของฝรั่งเศสเป็นระบบที่ค่อนข้างซับซ้อน
จาก ความมุ่งหมายเดิมของการศึกษาระดับอุดมศึกษาคือ การให้การศึกษาและการวิจัย มหาวิทยาลัยได้ปรับตนเองไปตามสภาพแวดล้อมและความต้องการของสังคม ตลอดจนระบบเศรษฐกิจ เช่น การเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนของภาคธุรกิจเอกชน โดยการก่อตั้ง Instituts Universitaires de Technologies (IUT) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นสถาบันที่สอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ นักศึกษาจะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมแบบธุรกิจจริง ๆ เมื่อจบการศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตร DESS ซึ่งเป็นสิ่งประกันความสามารถทางวิชาชีพของนักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมใน ระดับสูง และยังให้นักศึกษาได้รับการ ฝึกความชำนาญเฉพาะด้านในระดับผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ชำนาญเฉพาะอีกด้วย
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของฝรั่งเศสส่วนมากเป็นของรัฐ มีมหา วิทยาลัยของรัฐ 90 แห่ง มหาวิทยาลัยคาทอลิก 5 แห่ง สถาบันโปรเตสแตนต์ 3 แห่ง และอื่น ๆ อีก 4 แห่ง
จุด มุ่งหมายอย่างเป็นทางการของระบบอุดมศึกษาตามกฎหมายลงวันที่ 26 มกราคม 1984 ได้ให้ความหมายของการให้บริการของรัฐด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไว้ว่า หน้าที่ของระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา คือ
การ ฝึกอบรมเบื้องต้นให้กับนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และให้การศึกษาต่อเนื่องตลอดช่วงการดำเนินชีวิต และเปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาทุกระดับ ซึ่งหมายความว่าผู้ใดก็สามารถเข้าไปเรียนในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยได้ทุกเพศทุกวัยและทุกระดับพื้นความรู้
การดำเนินการและการเผยแพร่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
การเผยแพร่วัฒนธรรมและข้อมูลข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ประเภท ของสถาบันการศึกษา สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษามีหลายประเภท การจัดองค์กร และเงื่อนไขการเข้ารับการศึกษาจะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของสถาบัน และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร สถาบันการศึกษาแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทดังนี้
1. มหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งเปิดรับผู้ได้รับประกาศนียบัตร Baccalauréat (หรือเทียบเท่า) ทุกคน โดยไม่มีการสอบคัดเลือก เว้นแต่ในด้านการศึกษาสายแพทย์และเภสัชกร และสถานบัน IUT หรือ IUP มหาวิทยาลัย ของรัฐ เหล่านี้ให้การศึกษาอย่างกว้างขวางหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งแบ่งออกเป็นการให้ความรู้ทั้งด้านที่เป็นหลักทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติ
2. สถาบันที่เรียกว่า โรงเรียน (Ecole) ซึ่งมีทั้งที่เป็นของรัฐและของเอกชน ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ให้การศึกษาเพื่อความมุ่งหมายด้านวิชาชีพ
ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน
โดย ทั่วไปใช้ภาษาฝรั่งเศสในการเรียนการสอน แต่จากการเปิดกว้างทางการศึกษาระหว่างประเทศและการพัฒนาโครงการแลกเปลี่ยน ระหว่างมหาวิทยาลัย ทำให้สถานศึกษาบางแห่งเลือกเปิดหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของหลักสูตรต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องเสียค่าเรียนเพิ่มขึ้นเพราะสถานศึกษาต้องจ้างครู อาจารย์ที่ใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนสอนธุรกิจการจัดการ
นักศึกษาต่างชาติ
นัก ศึกษาต่างชาติมีจำนวนประมาณ 10% ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดในฝรั่งเศสและจะอยู่ในปารีสมากที่สุด ตามหลักเกณฑ์การไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ผิวพรรณ ทำให้นักศึกษาต่างชาติได้รับเงื่อนไขเดียวกันกับนักศึกษาฝรั่งเศสและเสียค่า ธรรมเนียมเท่ากัน และหากประเทศใดมีการตกลงแบบทวิภาคีระหว่างรัฐบาลกับฝรั่งเศส จะทำให้นักศึกษาต่างชาติของประเทศนั้น ได้รับสวัสดิการสังคมและโอกาสที่จะได้ที่พักในมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกันกับ ชาวฝรั่งเศส (แต่ประเทศไทยมิได้มีข้อตกลงดังกล่าวร่วมกับรัฐบาลฝรั่งเศส)
ความ หลากหลายของวิถีทางการศึกษาและปริญญาบัตรต่าง ๆ จำนวนมากที่มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ประสิทธิประสาทให้ ทำให้ระบบอุดมศึกษาของฝรั่งเศสเป็นปัญหากับผู้ที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้น ในคู่มือฉบับนี้ จะอธิบายอย่างย่อ ๆ ถึงระบบอุดมศึกษาของฝรั่งเศส โดยจะเน้นถึงวิธีการศึกษาที่เหมาะกับนักศึกษาไทย การศึกษาระดับอุดมศึกษาของฝรั่งเศสเป็นการศึกษาต่อจาก Baccalauréat (เทียบเท่าประกาศนียบัตร ม.6 ของไทย) นักศึกษามีทางเลือก 3 ทาง คือ
1. หลักสูตรระยะสั้น (Short Curriculum)
2. หลักสูตรโรงเรียนชั้นสูง (“Grandes Ecoles” Curriculum)
3. หลักสูตรมหาวิทยาลัย (University Curriculum)
หลักสูตรระยะสั้น 2 - 3 ปี (Short Curriculum)
เป็น การศึกษาทางด้านวิชาชีพหรือความชำนาญทางด้านเทคนิคสาขาใดสาขาหนึ่ง ภายในเวลา 2 - 3 ปี สถานศึกษา คือ STS (Section de Technicien Supérieur) หรือ IUT (Instituts Universitaires de Technologies) ปริญญาบัตรที่ได้คือ BTS (Brevet de Technicien Supérieur) หรือ DUT (Diplôme Universitaire de Technologie)
BTS มีปริญญาบัตรสาขาวิชาต่าง ๆ มากมายตั้งแต่ระดับเลขานุการ จนถึงการโรงแรมหรือภัตตาคาร พาณิชยการ การท่องเที่ยว และการใช้คอมพิวเตอร์ทางการบริหาร
DUT มีปริญญาบัตรสาขาวิชาการก่อสร้างและโยธาธิการ การบำรุงรักษาสำหรับอุตสาหกรรม อาชีพทางสารสนเทศ และการบริหาร
นัก ศึกษาที่สำเร็จ BTS หรือ DUT และมีผลการเรียนดี สามารถเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนวิศวกร ตามที่สถานศึกษาจะพิจารณาคัดเลือก โดยจะพิจารณาจากผลการเรียนที่ผ่านมา หรือการสอบคัดเลือก
นัก ศึกษาต่างชาติได้รับโอกาสให้เข้าศึกษาทางด้านนี้ โดยไม่ต้องสอบความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาขณะเมื่อลงทะเบียนเข้าเป็นนักศึกษา แต่การที่ ไม่มีการทดสอบพื้นความรู้ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้หมายความว่าพื้นฐานด้านภาษาไม่ มีความจำเป็น
หลักสูตรโรงเรียนชั้นสูง (“Grandes Ecoles” Curriculum)
โรงเรียนชั้นสูง Grandes Ecoles เป็นระบบการศึกษาเฉพาะของฝรั่งเศส ซึ่งประเทศอื่น ๆ ไม่มีระบบการศึกษานี้
Grandes Ecoles มีหลักสูตรที่เปิดทำการสอน 3 ด้าน คือ
1. Business and Management
2. Engineering
3. Political Sciences
เงื่อนไขการเข้าเรียนสำหรับนักศึกษาต่างชาต
มี เงื่อนไขเดียวกันกับชาวฝรั่งเศสคือ การสอบแข่งขัน (Concours) สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ จึงเป็นการยากมากที่จะผ่านการสอบแข่งขัน แม้ว่าโรงเรียนบางแห่งจะได้จัดหลักสูตรเตรียมการสำหรับนักศึกษาต่างชาติให้ เป็นพิเศษแล้วก็ตาม ด้วยเหตุที่ว่านอกจากจะต้องมี ความรู้พื้นฐานในสาขาวิชาอย่างดีเลิศแล้ว ยังจะต้องมีความสามารถทางภาษาอีกด้วย สถาบันศึกษาเอกชนมีวิธีการคัดเลือกนักศึกษาแตกต่างกันออกไป
โรงเรียน ชั้นสูง Grandes Ecoles มีประมาณ 300 แห่ง ซึ่งมีระบบการสอบคัดเลือกที่เข้มงวดมาก การเตรียมตัวสอบคัดเลือก (Concours d’entrée) ใช้เวลาศึกษา 2 ปีในโรงเรียนเตรียมการ (Ecoles Préparatoires) ส่วนโรงเรียนชั้นสูงในด้านธุรกิจ เริ่มนิยมเปิดหลักสูตร BBA และ MBA ภาษาอังกฤษหรือสองภาษา (อังกฤษ-ฝรั่งเศส) ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักศึกษาไทยที่มีพื้นความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี แล้วที่จะไปเรียนต่อด้านการบริหารธุรกิจ โดยมีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสและยุโรปไปพร้อมกันด้วย
หลักสูตรมหาวิทยาลัย (University Curriculum)
มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาที่รับนักศึกษาจำนวนมากที่สุด มหาวิทยาลัยฝรั่งเศสเป็นสถานศึกษาของรัฐเกือบทั้งหมด ในส่วนของ มหาวิทยาลัยเอกชน โดยทั่วไปเป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่นกลุ่มมหาวิทยาลัยคาทอลิก หรือกลุ่มสถาบันโปรเตสแตนต์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ดำเนินงานโดยมีอิสระทั้งในด้านการบริหาร การเงิน วิธีการสอน และ หลักสูตร
การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแยกออกเป็น 3 ระดับ (3ème cycles d’études) ที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งแต่ละระดับจะมีปริญญาบัตรแห่งชาติ
1. ระดับที่หนึ่ง (1er cycle) ซึ่งเป็นระดับการศึกษาทั่วไป ใช้เวลา 2 ปี และได้รับอนุปริญญา DEUG (Diplôme d’études Universitaires Générales) อนุปริญญานี้มีคุณค่าน้อยมากในตลาดแรงงาน แต่ถือว่าเป็นการเตรียมนักศึกษาสู่การศึกษาในระดับต่อไปมากกว่า
2. ระดับที่สอง (2ème cycle) เป็นระดับการศึกษาที่เจาะลึกลงไปในสาขาวิชา เป็นการฝึกอบรมชั้นสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการฝึก อบรมทั่วไป ใช้เวลาศึกษา 1 ปี เมื่อสำเร็จจะได้รับปริญญาบัตร Licence (เทียบเท่า Bachelor Degree) หมายถึง DEUG +1 ปี และหากศึกษาต่อไปอีก 1 ปี จะได้รับปริญญาบัตร Maîtrise (เทียบเท่า Master Degree) หมายถึง DEUG +2 ปี (ทั้งสองปีนี้ถือเป็นการศึกษาหน่วยเดียวกัน และมีบางสาขาที่บังคับให้ศึกษาต่อในสาขาวิชาเดียวกันในระดับ Licence และ Maîtrise)
3. ระดับที่สาม (3ème cycle) ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Post Graduate ซึ่งเป็นระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะและการฝึกอบรมวิจัย นักศึกษาต้องได้รับปริญญาบัตร Maîtrise หรือเทียบเท่า เช่น ปริญญาบัตรของโรงเรียนชั้นสูง เกณฑ์การคัดเลือกใช้วิธีการพิจารณาผลการเรียนที่ผ่านมาและการสัมภาษณ์ การศึกษาระดับนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกหลักสูตรปริญญาบัตร 2 ประเภท คือ
ปริญญาบัตร DESS (Diplôme d’études Supérieures Spécialisées) เป็นการศึกษาด้านวิชาชีพ 1 ปี และมีการฝึกงานในบริษัท
ปริญญา DEA (Diplôme d’études Approfondies) เป็นการฝึกการวิจัย ใช้เวลา 1 ปี และสามารถทำปริญญาเอก (Doctorat) ภายหลังจบงานวิจัยได้ โดยใช้เวลาอีก 3-5 ปี ซึ่งต้องเขียนวิทยานิพนธ์ ต่อคณะกรรม การศึกษาหรือผลงานวิจัย 1 ชุด
นัก ศึกษาต่างชาติที่ต้องการจะลงทะเบียนเรียนต่อในมหาวิทยาลัยฝรั่งเศส หลังจากที่ได้รับปริญญาตรีแล้ว การพิจารณามีหลายกรณี ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เลือกและผลการเรียน แม้ว่าปริญญาตรีเทียบเท่ากับ Maîtrise (Bac + 4 ปี) ก็จริง แต่ทั้งนี้ ยังต้องขึ้นอยู่กับการยอมรับของ มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากผล การเรียนที่ผ่านมา
กรณีที่ 1 นักศึกษามีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนสาขาวิชา นักศึกษาจะต้องเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ปีหนึ่งแต่สามารถที่จะเทียบโอนหน่วยกิต บางหน่วยไดโดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบด้านการเทียบโอนหน่วยกิตเป็นผู้พิจารณา
กรณีที่ 2 นักศึกษาที่ศึกษาต่อในสาขาวิชาเดิม แต่มีผลการเรียนที่ผ่านมาอยู่ในระดับปานกลาง (GPA<3.00) นักศึกษาต้องลงทะเบียนเข้าศึกษาในระดับ Licence (Bac + 3 ปี)
กรณีที่ 3 นักศึกษาที่ศึกษาต่อในสาขาวิชาเดิม และมีผลการเรียนที่ผ่านมาอยู่ในระดับดี (GPA>3.00) การพิจารณารับเข้าศึกษาต่อขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย และสาขาวิชาที่เลือก แต่มีโอกาสได้เข้าศึกษาในระดับ Maîtrise หรือ DEA ก็อาจเป็นได้ (สำหรับสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคมีโอกาสสูงกว่า) บางครั้งนักศึกษาอาจจะต้องลงทะเบียนศึกษาในระดับ Licence เพราะถือว่า Maîtrise เป็นการเรียนเฉพาะด้านที่ต่อเนื่องจาก Licence ซึ่งไม่ควรแยกออกจากกัน (โดยเฉพาะในกรณีของสาขาวิชาชีพ)
การเปรียบเทียบปริญญาบัตรฝรั่งเศสตามมาตรฐานสหภาพยุโรป
Niveau V (ระดับที่ 5) ระดับมัธยม
Niveau IV (ระดับที่ 4) ระดับ Baccalauréat
Niveau III (ระดับที่ 3) ระดับอุดมศึกษาระดับที่ 1
(DEUG - DUT - BTS)
Niveau II (ระดับที่ 2) ระดับอุดมศึกษาระดับที่ 2
(Licence - Maîtrise)
Niveau I (ระดับที่ 1) ระดับอุดมศึกษาระดับที่ 3
(DESS - DEA - Diplôme d’ Ingénieur)
Doctorat